top of page

วิธีวัดความหนาผิวเคลือบบนสแตนเลส

How to Measure Coating Thickness on Stainless Steel

วิธีวัดความหนาของผิวเคลือบบนแสตนเลส

หลายคนคงคุ้นเคยกับความทนทานของสแตนเลส แต่รู้หรือไม่ว่าสแตนเลสเองก็สามารถเกิดสนิมได้เช่นกัน! สาเหตุหลักมาจากสแตนเลสแต่ละชนิดมีความไวต่อออกซิเจนและความทนทานต่อการกัดกร่อนที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาว่าทำไมการเคลือบจึงจำเป็นต่อวัสดุสแตนเลส


แล้วจะวัดความหนาของสารเคลือบบนสแตนเลสที่หลากหลายเหล่านี้อย่างไร?


H.J.Unkel Thailand มาไขข้อสงสัยให้ค่ะ!


 

DeFelsko ผู้ผลิตเครื่องวัดความหนาของสีหรือสารเคลือบขนาดพกพา ช่วยวัดความหนาของการเคลือบที่ใช้บนโลหะทุกชนิด รวมถึงสแตนเลสสตีล โดยไม่ทำลายพื้นผิว อนึ่ง คุณสมบัติทางแม่เหล็กที่แตกต่างกันของสแตนเลสทำให้การวัดความหนาของสีเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้น การใช้เครื่องมือที่เหมาะสม พร้อมกับการตั้งค่าที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ


ทำไมต้องทาสีหรือสารเคลือบบนสแตนเลส?

สแตนเลสเป็นโลหะที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากทนทานต่อการกัดกร่อน ช่วยให้ใช้งานได้ยาวนานและคุ้มค่า สแตนเลสมีโครเมียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเพื่อสร้างชั้นออกไซด์เฉื่อยบางๆ เคลือบไว้ทั่วทั้งพื้นผิว ช่วยป้องกันการเกิดสนิม และยังสามารถฟื้นฟูตัวเองได้อีกด้วย นอกเหนือจากคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนตามธรรมชาติแล้ว สแตนเลสมักถูกเคลือบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม หรือเพื่อจุดประสงค์ด้านความสวยงาม


สแตนเลสถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น งานสถาปัตยกรรม ยานพาหนะ เครื่องมือแพทย์ พลังงาน น้ำมันนอกชายฝั่ง ท่อ อากาศยาน และอื่น ๆ อีกมากมาย สแตนเลสมีหลายตระกูล โดยแต่ละตระกูลจะมีการผสมโลหะธาตุต่าง ๆ ในสัดส่วนที่ต่างกัน และแบ่งออกเป็นเกรดตามองค์ประกอบทางเคมีอีกด้วย

อุปกรณ์ตรวจสอบแบบพกพาที่ใช้กันทั่วไป อาจวัดความหนาของสีที่เคลือบบนสแตนเลสได้ยาก เนื่องจากคุณสมบัติทางแม่เหล็กของสแตนเลสแต่ละตระกูลและเกรดมีความแตกต่างกัน


ความท้าทายของการวัดความหนาของสีบนสแตนเลส

ความท้าทายสำคัญในการวัดความหนาผิวเคลือบบนสแตนเลสขึ้นอยู่กับเกรดของสแตนเลสนั้นเอง เนื่องจากสแตนเลสแต่ละเกรดจะมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่แตกต่างกัน โดยสแตนเลสบางชนิดมีธาตุส่วนประกอบที่นำแม่เหล็ก ไม่นำแม่เหล็ก หรือมีคุณสมบัติทั้งสองแบบปะปนกัน ดังนั้น การเลือกเครื่องวัดความหนาเคลือบที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกใช้เครื่องวัดหรือการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้การวัดความหนาของสีคลาดเคลื่อน

Stainless Steel
  • สแตนเลสชนิดเฟอร์ริติก (Ferritic) มีคุณสมบัตินำแม่เหล็ก จัดอยู่ในกลุ่ม 400 ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความทนทานต่อการกัดกร่อนและสามารถดัดได้ง่าย

  • สแตนเลสชนิดมาร์เทนซิติก (Martensitic) มีคุณสมบัตินำแม่เหล็กเช่นกัน โดยจัดอยู่ในกลุ่ม 400 และ 600 แม้จะมีคุณสมบัติทนทานต่อการกัดกร่อนน้อยกว่าตระกูลอื่นๆ

  • สแตนเลสชนิดออสเทนิติก (Austenitic) เป็นชนิดที่นิยมใช้มากที่สุด มีจำนวนเกรดมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม 200, 300 และ 900 สแตนเลสชนิดนี้โดยทั่วไปไม่นำแม่เหล็ก อย่างไรก็ตาม สแตนเลสออสเทนิติกสามารถนำแม่เหล็กบางส่วนได้เมื่อผ่านกระบวนการขึ้นรูปเย็น (Cold Working) นอกจากนี้ องค์ประกอบของเนื้อสแตนเลสเอง รวมถึงปริมาณของนิกเกิลที่ผสมอยู่ก็ส่งผลต่อคุณสมบัตินำแม่เหล็กด้วย

  • สแตนเลสชนิดดูเพล็กซ์ (Duplex) เป็นสแตนเลสที่ผสมระหว่างสแตนเลสชนิดเฟอร์ริติกและออสเทนิติก ทำให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อการกัดกร่อนมากกว่าสแตนเลสกลุ่ม 300 ทั่วไป สแตนเลสชนิดนี้โดยปกติสามารถนำแม่เหล็ก แต่เนื่องจากมีส่วนผสมของสแตนเลสออสเทนิติกมากกว่าสแตนเลสเฟอร์ริติก จึงอาจนำแม่เหล็กได้น้อยกว่า


การวัดความหนาของสีบนสแตนเลสประเภทที่ประกอบไปด้วยธาตุบางส่วนที่สามารถนำแม่เหล็กได้ และบางส่วนที่ไม่สามารถนำแม่เหล็ก ส่งผลให้เครื่องวัดความหนาสารเคลือบแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็ก (Magnetic Induction) และเครื่องวัดความหนาสารเคลือบประเภทเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า (Eddy Current) ยากต่อการวัดความหนาของสารเคลือบบนสแตนเลสได้อย่างแม่นยำ จากการที่มีสแตนเลสประเภทนี้มีคุณสมบัตินำแม่เหล็กที่ไม่สม่ำเสมอ


วิธีการวัดความหนาของสีจาก DeFelsko

เครื่องมือที่ออกแบบมาสำหรับการวัดความหนาของสีหรือสารเคลือบบนโลหะนั้นรองรับหลักการทำงานการทำงานแบบแม่เหล็ก (Magnetic) หรือกระแสน้ำวน (Eddy Current) หรือบางรุ่นอาจใช้ทั้งสองแบบผสมกัน (Combination)

  • หลักการแม่เหล็ก (Magnetic): เหมาะสำหรับการวัดความหนาของสีที่ไม่ใช่แม่เหล็กบนชิ้นงานที่เป็นแม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น การวัดความหนาของสีบนสแตนเลสเกรด 400

  • หลักการกระแสน้ำวนหรือกระแสไฟฟ้า (Eddy Current): เหมาะสำหรับการวัดความหนาของสีที่ไม่นำไฟฟ้าบนชิ้นงานที่ไม่ใช่แม่เหล็ก ตัวอย่างเช่น การวัดความหนาของสีบนอลูมิเนียม


การวัดความหนาของสีบนสแตนเลสเกรดแม่เหล็ก

การวัดความหนาของสีที่ไม่นำแม่เหล็กบนสแตนเลสเกรดแม่เหล็กเป็นเรื่องง่ายดาย สามารถวัดด้วยเครื่องวัดหลักการแม่เหล็ก เพียงแค่ทำการปรับค่าเป็นศูนย์ (zero) บนบริเวณที่ไม่ได้ทาสี และปรับค่าอีกครั้งหากจำเป็น* เครื่องมือที่แนะนำ ได้แก่



PosiTest
  • PosiTest - เครื่องวัดแบบแม่เหล็กดึงแยก (Banana Gauge) สำหรับการวัดความหนาของสีที่ไม่นำแม่เหล็ก (สี เคลือบฟัน ธาตุสังกะสี โลหะ ชุบโลหะ ฯลฯ) บนเหล็กแบบไม่ทำลายพื้นผิว


PosiTest DFT


  • PosiTest DFT - เครื่องวัดความหนาฟิล์มแห้ง (Dry Film Thickness) สำหรับวัดความหนาของสีและสีชนิดอื่นๆ บนพื้นผิวโลหะ เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า โดยยังคงไว้ซึ่งคุณภาพมาตรฐานระดับสูงของเครื่องวัดความหนาสีและเครื่องมือตรวจสอบจาก DeFelsko



PosiTector 6000


  • PosiTector 6000 - เครื่องวัดความหนาสีแบบ PosiTector 6000 ที่แข็งแรงและใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ใช้หลักการแม่เหล็กและกระแสน้ำวนในการวัดความหนาของสีบนโลหะทั้งแบบเหล็ก (ferrous) และไม่ใช่เหล็ก (non-ferrous) อย่างรวดเร็วและแม่นยำ





สำหรับเครื่องวัดแบบกลไก (Mechanical Gages) แทนที่จะปรับค่าเป็นศูนย์ก่อนการวัด ควรวัดค่าความหนาที่ทราบแล้วบนพื้นผิวโลหะเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าผลลัพธ์อยู่ภายในค่าที่ยอมรับได้


การวัดความหนาของสีบนสแตนเลสเกรดไม่ใช่แม่เหล็ก

สำหรับการวัดความหนาของสีที่ไม่นำไฟฟ้าบนสแตนเลสเกรดไม่ใช่แม่เหล็ก เครื่องวัดหลักการกระแสน้ำวน (Eddy Current) อย่าง PosiTector 6000 N (รุ่น Non-Ferrous) เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เช่นเดียวกับการวัดบนสแตนเลสเกรดแม่เหล็ก เพียงแค่ทำการปรับค่าเป็นศูนย์ (zero) บนบริเวณที่ไม่ได้ทาสี และปรับค่าอีกครั้งหากจำเป็น


การวัดความหนาของสีบนสแตนเลสเกรดที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กบางส่วน

PosiTector 6000 Measuring Paint Thickness on Steel Tank

PosiTector 6000 FN พร้อม N-Lock (Non-Ferrous Lock) โหมด

เครื่องวัดรุ่น PosiTector 6000 FN (Ferrous/Non-Ferrous) แบบผสม เหมาะสำหรับการวัดความหนาของสีได้อย่างแม่นยำบนสแตนเลสเกือบทุกชนิดและเกรด ไม่ว่าจะเป็นสแตนเลสแบบแม่เหล็ก ไม่ใช่แม่เหล็ก หรือมีคุณสมบัติทั้งสองแบบผสมกัน เครื่องวัดรุ่น PosiTector 6000 FN นี้ผสมผสานเทคโนโลยีทั้งแบบแม่เหล็กและกระแสไฟฟ้า เพื่อการวัดบนชิ้นงานทั้งแบบแม่เหล็กและไม่ใช่แม่เหล็ก โดยเครื่องวัดจะตรวจสอบก่อนว่ามีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กอยู่ที่ชิ้นงานหรือไม่ หากมี เครื่องจะทำการวัดด้วยวิธีการแม่เหล็ก แต่ถ้าไม่มี เครื่องจะเปลี่ยนไปใช้การวัดด้วยวิธีกระแสไฟฟ้า เช่นเดียวกับเครื่องวัดรุ่นอื่นๆ ควรทำการปรับค่าเป็นศูนย์ (zero) บนบริเวณที่ไม่ได้ทาสี และปรับค่าอีกครั้งหากจำเป็น


เครื่องวัดรุ่น PosiTector 6000 FN มีความสามารถพิเศษในการเอาชนะข้อจำกัดในการวัดสแตนเลสที่มีคุณสมบัตินำแม่เหล็กบางส่วน โดยขึ้นอยู่กับว่าสีที่เคลือบนั้นเป็นสีที่ไม่นำไฟฟ้าหรือไม่


เครื่องวัดรุ่น PostiTector 6000 FN มีฟังก์ชั่นพิเศษอย่างโหมด N-Lock (Non-Ferrous lock) เป็นการปรับคุณสมบัติของสแตนเลสสตีลให้อยู่ในภาวะไม่นำแม่เหล็กชั่วคราวทั้งหมด ถึงแม้ว่าสแตนเลสสตีลนี้จะนำแม่เหล็กไม่สม่ำเสมอ จากการที่ประกอบไปด้วยธาตุที่มีคุณสมบัตินำแม่เหล็กที่ต่างกัน  โดยเครื่องจะทำการการปรับโหมดให้ใช้หลักการกระแสไฟฟ้าอย่างเดียว (Eddy Current) จึงทำให้วัดค่าความหนาของสีได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น








 

หากท่านสนใจในสินค้า DeFelsko สามารถติดต่อได้ที่ H.J.Unkel (Thai) Limited

บริษัทฯ ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้บริการทุกท่านด้วยความเชี่ยวชาญในสินค้าและงานบริการกว่า 45 ปี



Comentarios


bottom of page