การใช้งานเครื่องทดสอบ QUV ร่วมกับ Q-Fog เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
สมมุติว่าเรามีผลิตภัณฑ์อยู่ 1 ชิ้น แต่แล้วหลังจากที่ผลิตภัณฑ์ของเราถูกรบกวนด้วยสภาพแวดล้อมอย่างแสงแดด ความร้อน และน้ำ เมื่อถึงจุดนึงผลิตภัณฑ์ของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพต่าง ๆ ซึ่งวันนี้เราจะให้ความสำคัญกับการเกิดสนิมบนผลิตภัณฑ์เป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐาน ASTM D5894 และ ISO 12944
สนิมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
จุดเริ่มต้นของสนิมคล้ายกับชิ้นงานวัสดุทั่วไป แต่สนิมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นมีโครงสร้างเป็นเหล็กหรือโลหะที่ถูกสภาวะอย่างแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้น ประกอบกับโดนน้ำและไอเกลือ เมื่อถึงจุดนึงก็จะเกิดสนิมขึ้นมาในที่สุด
การทราบอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าจึงเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ฝ่าย R&D ในโรงงานผู้ผลิตแนวหน้าเลือกใช้ โดยทดสอบผ่านเครื่องทดสอบในห้องแลปที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
ในปี 1980 Sherwin Williams ทำการทดลองการเกิดสนิมบนวัสดุ โดยการนำเอาเครื่อง QUV ที่จำลองสภาวะแสงแดด อุณหภูมิ และความชื้นในเครื่องเดียวกันมาใช้ร่วมกับเครื่อง Q-Fog Salt ที่จำลองการกัดกร่อนจากความชื้นและเกลือ
ลักษณะชิ้นงานที่เกิดจากการกัดกร่อนที่มักใช้ในการศึกษา มีดังนี้
ระยะการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นตามรอย
การพอง
ระดับการเกิดสนิม (ASTM D610)
วิธีการทดสอบที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
รูปแบบการทดสอบอื่นภายใต้มาตรฐาน ASTM D5894 เช่น
NACE TM0304, TM0404 การใช้น้ำเกลือทะเลสังเคราะห์ แทน NaCl / (NH4)2SO4 ที่ระบุไว้ใน ASTM D1141
Freeze cycling added to US Federal Highway หรือการใช้เกลือในการละลายหิมะ
SSPISO 12944-6:2018 การกัดกร่อนบนโครงสร้างเหล็กผ่านการเคลือบผิว
วิธีการทดสอบข้างต้นที่มีการใช้เครื่อง QUV และ Q-Fog ร่วมกันต่างก็ให้ผลการทดสอบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ให้ผลลัพธ์การกัดกร่อนที่เสมือนจริงเมื่อเทียบกับสภาวะจริงได้ดีที่สุด
งานศึกษาที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเด็น
ความถูกต้อง
ความแม่นยำ
คลิกดูวิดีโอเพิ่มเติม:
หากท่านสนใจในเครื่อง QUV หรือ Q-Fog สามารถติดต่อได้ที่ H.J.Unkel (Thai) Limited
บริษัทฯ ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้บริการทุกท่านด้วยความเชี่ยวชาญในสินค้าและงานบริการกว่า 45 ปี
Commentaires